วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ประวัติส่วนตัว


ชื่อ นายอาทิตย์ นามสกุล อึงชัยศรี

คณะสัตวแพทยศาสตร์และสัตวศาสตร์

สาขา ประมง

รหัสนิสิต 54011815069

บ้านเลขที่ 26 ม.3 ต.ห้วยราช อ.ห้วยราช จ.บุรีรัมย์ 31000

 
เบอร์โทร 0837247262 D-tac 0903739831 12call

บล๊อคนี้จัดทำขึ้นเพื่อรายวิชา การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน

รหัสวิชา 0026008

ความหมายของคำว่าบรรณานุกรม

บรรณานุกรม หมายถึงข้อความที่ประกอบ หรือระบุหรือไว้ในส่วนท้าย หรือแนบท้ายหนังสือ รายงาน บทความวิชาการ และงานวิจัย เพื่อแสดงหลักฐาน ความน่าเชื่อถือ และเป็นแหล่งข้อมูลให้ผู้อ่านรายงาน บทความวิชาการ และงานวิจัย ได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
คำว่า "บรรณานุกรม" เป็นศัพท์บัญญัติมาจากภาษาอังกฤษ bibliography ซึ่งมีความหมายอย่างเดียวกันคือ รายการสื่อสารนิเทศทั้งหมดที่ผู้เขียนได้ใช้ประกอบการเขียนหนังสือ รายงาน บทความวิชาการ และงานวิจัย

หลักทั่วไปในการเขียนบรรณานุกรม
หลักการ ตัวอย่าง หมายเหตุ
ชื่อ ชื่อสกุล. เว้นวรรค ชื่อเรื่อง. เว้นวรรค ครั้งที่พิมพ์. เว้นวรรค เมืองที่พิมพ์ เว้นวรรค : เว้นวรรค ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์ (หรือสำนักพิมพ์), เว้นวรรค ปีที่พิมพ์. ประคอง นิมมานเหมินท์. นิทานพื้นบ้านศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โครงการเผยแพรผล งานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545. บรรณานุกรมเรื่องหนึ่ง เมื่อขึ้นต้นบรรทัดแรก ให้ชิดซ้าย หากมีความยาวเกิน 1 บรรทัด บรรทัดต่อมา ให้ย่อเข้าไป, การใส่จุด (.) นิยมใช้ตามรูปแบบข้างบนนี้

ส่วน เงื่อนไข รายละเอียด
ชื่อผู้แต่ง ผู้แต่งเป็นชาวต่างประเทศ ให้ใช้ ชื่อสกุล (Last name) ขึ้นก่อน แล้วตามด้วย ชื่อต้น (First name) และชื่อกลาง (Middle name) ตามลำดับ แต่สำหรับชื่อคนไทย แม้จะเขียนเป็นภาษาอังกฤษ ก็ไม่ต้องเอาชื่อสกุลขึ้นก่อน
ผู้แต่งที่เป็นพระมหากษัตริย์ พระราชินี พระบรมวงศานุวงศ์ และผู้แต่งที่มีราชทินนาม ฐานันดรศักดิ์ สมณศักดิ์ ให้ใส่ ราชทินนาม ฐานันดรศักดิ์ สมณศักดิ์ นั้นไว้ข้างหลังชื่อ โดยหลังชื่อผู้แต่งเครื่องหมายจุลภาค (,) เช่น ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จกรมพระยา ส่วนคำนำหน้านาม เช่น นาย นาง นางสาว ตำแหน่งทางวิชาการ อาชีพ หรือยศ ให้ตัดออกไป เช่น พล.ต.อ. วสิษฐ์ เดชกุญชร ลงเป็น วสิษฐ์ เดชกุญชร ยกเว้น นามแฝง เช่น ว.วินิจฉัยกุล, ดร.ป๊อป, หลังชื่อผู้แต่งให้ใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.)
การลงชื่อผู้แต่งที่เป็นนิติบุคคล ได้แก่ หน่วยราชการ สถาบันการศึกษา รัฐวิสาหกิจ สมาคม เป็นต้น ให้ลงชื่อหน่วยงาน คั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค และตามด้วยฐานะของหน่วยงาน เช่น การศึกษานอกโรงเรียน, กรม แรงงานและสวัสดิการสังคม, กระทรวง เป็นต้น
หากมีผู้แต่ง 2 คน ให้ใช้หลัก ชื่อผู้แต่งทั้งสองคน. ชื่อหนังสือ. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์, ปีที่พิมพ์. เช่น สมบัติ จำปาเงิน และ สำเนียง มณีกาญจน์. หลักนักอ่าน. กรุงเทพฯ: เรือนแก้ว, 2531.
หากมีผู้แต่ง 3 คน ให้ใช้หลัก ชื่อผู้แต่งทั้งสามคนคั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาคและคำว่า และ. ชื่อหนังสือ. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์, ปีที่พิมพ์. เช่น สังวร ปัญญาดิลก, วลัย ชวลิตธำรง และสุมนตรา ปิยะเกศิน.
หากมีผู้แต่งมากกว่า 3 คน ให้ใช้หลัก ชื่อผู้แต่งคนแรก และผู้แต่งคนอื่นๆ.ชื่อหนังสือ. ครั้งที่พิมพ์.สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์, ปีที่พิมพ์. เช่น อธิษกานต์ ไกรภักดี และคนอื่นๆ. การเมืองและการปกครองไทย. พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี: ปานเทวา การพิมพ์, 2541.
หากเป็นหนังสือแปลจากต่างประเทศ ให้ใช้หลัก ชื่อผู้แต่ง.ชื่อหนังสือ.แปลโดย ชื่อผู้แปล.สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์, ปีที่พิมพ์.
ครั้งที่พิมพ์ เมื่อพิมพ์ตั้งแต่ครั้งที่ 2 เป็นต้นไป ให้ระบุครั้งที่พิมพ์ หลังครั้งที่พิมพ์ โดยใส่เครื่องหมาย มหัพภาค (.) ต่อท้าย
สถานที่พิมพ์ หากมี ให้ระบุชื่อเมืองที่สำนักพิมพ์ หรือโรงพิมพ์นั้นตั้งอยู่ โดยใช้ชื่อเมืองตามที่ปรากฏในหนังสือเล่มนั้นๆ
หากไม่มี ให้ใช้ (ม.ป.ท.) คือ ไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์ หลังครั้งที่พิมพ์ใส่เครื่องหมายทวิภาค ( : )
สำนักพิมพ์ หากมีทั้งสำนักพิมพ์และโรงพิมพ์ ให้ใช้ชื่อสำนักพิมพ์
หากมีคำที่เป็นส่วนหนึ่งของสำนักพิมพ์ เช่น บริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด ให้ตัดออกเหลือเพียงชื่อสำนักพิมพ์
หากไม่ปรากฏชื่อสำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์ ให้ใช้ (ม.ป.ท.) แทนเพียงครั้งเดียว หลังสำนักพิมพ์ใส่เครื่องหมายจุลภาค (,)
ปีที่พิมพ์ หากไม่มี ให้ใช้ว่า (ม.ป.ป.) ถ้าหนังสือไม่ปรากฏทั้งสถานที่พิมพ์และปีที่พิมพ์ ให้ใช้ว่า (ม.ป.ท., หรือ ม.ป.ป.) หลังปีที่พิมพ์ใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.)

ความหมายของคำว่านามานุกรม

  นามานุกรม เป็นหนังสืออ้างอิงประเภทให้คำตอบทันที ( Ready Reference ) ที่ผู้ใช้ห้องสมุดต้องการใช้บ่อยที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้องสมุดประชาชน ทั้งนี้ก็เพราะว่าใน่ชีวิตประจำวันนั้นบุคคลในทุกวงการมีการติดต่อสื่อสาร กันบ่อยๆ ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีคู่มือสำหรับใช้ค้นหา ชื่อ ตำแหน่ง สถานที่อยู่ เขตไปรษณีย์ เบอร์โทรศัพท์ ตลอดจนรายการจำเป็นอื่นๆ ของบุคคล หน่วยงาน ห้างร้าน บริษัท และองค์การต่างๆ คู่มือที่มีประสิทธิภาพสำหรับค้นข้อมูลในเรื่องเหล่านี้ก็คือ นามานุกรม

          นามานุกรม เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ทำเนียบนาม" แปลมาจากคำภาษาอังกฤษว่า "Directory" ซึ่งมีความหมายตามที่ปรากฏใน ALA Glossary of Library and Information Science
       
         
นามานุกรม คือ หนังสือรวบรวมรายชื่อของบุคคล สถาบัน สมาคม หน่วยงานต่างๆ เรียงตามลำดับอักษรของชื่อนั้นๆ หรือจัดเรียงลำดับรายชื่อเป็นหมวดหมู่ พร้อมทั้งให้เรื่องราวเกี่ยวกับความสำคัญองชื่อนั้น พร้อมทั้งตำบลที่อยู่หรือที่ตั้งของชื่อนั้นๆ

ประเภทของนามานุกรม
          การแบ่งประประเภทของนามานุกรมนั้น พิมลวรรณ ประเสริฐวงษ์ เรพเพอร์ ได้แบ่ง ไว้เป็น 5 ประเภท คือ
          
1. นามานุกรมท้องถิ่น เป็นนามานุกรมที่จัดทำขึ้นในท้องถิ่นต่างๆ เช่น สมุดโทรศัพท์ของเมืองนั้นๆ ของจังหวัด ชองรัฐ หรือของภาค ทำเนียบนามโรงเรียนในท้องถิ่นในจังหวัด เขตการศึกษา เป็นต้น
          2. นามานุกรมสถาบัน เป็นนามนุกรมที่รวบรวมรายชื่อของสถาบัน สมาคม มูลนิธิ โรงพยาบาล พิพิธภัณฑ์ ห้องสมุด และองค์การ เช่น ทำเนียบวัดแห่งประเทศไทย รวม 76 จังหวัด
          3. นามานุกรมรัฐบาล เป็นนามานุกรมที่รวบรวมรายชื่อที่อยู่ของหน่วยงานของรัฐบาล เช่น ทำเนียบข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการ
          4. นามานุกรมบุคคลในอาชีพใดอาชีพหนึ่ง เป็นนามานุกรมที่รวบรวยรายชื่อบุคคลในอาชีพต่างๆ นามานุกรมแต่ละเล่มมักรวมรายชื่อบุคคลในอาชีพใดอาชีพหนึ่งโดยเฉพาะในอาชีพใด อาชีพหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น ทำเนียบสมาชิกสมาคมแพทย์ ทำเนียบนามนักวิจัยการศึกษา
          5. นามานุกรมด้านธุรกิจการค้า เป็นนามานุกรมด้านธุรกิจการค้า เป็นนามานุกรมที่รวบรวมรายชื่อบริษัทโรงงานอุตสาหกรรม

ความหมายของคำว่าจุลสารและกฤตภาค


จุลสาร (Pamphlet or Vertical file) 

               จุลสาร คือ   สิ่งพิมพ์ที่มีขนาดเล็กเป็นเล่มปกอ่อน  มีความหนาอยู่ระหว่าง 2 ถึง 60 หน้า เป็นสิ่งพิมพ์ที่หน่วยราชการ องค์การ บริษัท ห้างร้าน สถาบัน สมาคมและหน่วยงานต่างๆ จัดพิมพ์เผยแพร่ เนื้อเรื่องจะเป็นเรื่องที่ทันสมัย 

กฤตภาค  (Clipping) 

               กฤตภาค  (Clipping)  คือ  ข้อความต่างๆ ที่ตัดจากหนังสือพิมพ์  วารสาร  และสิ่งตีพิมพ์ อื่นๆ  แล้วนำมาผนึกบนกระดาษ  และให้หัวเรื่อง  รวมจัดเข้าแฟ้ม  โดยจัดเรียงไว้ในแฟ้มกฤตภาคใน
ตู้กฤตภาคตามลำดับตัวอักษรของหัวเรื่อง
               เรื่องที่ห้องสมุดเลือกทำกฤตภาค ได้แก่ เรื่องราวทุกสาขาวิชาที่น่าสนใจศึกษาค้นคว้า  เช่น  เรื่องราวเกี่ยวกับประเทศหรือสถานที่สำคัญต่างๆ ชีวประวัติบุคคล การเมืองและการปกครอง       สุขภาพอนามัย  เรื่องราวและภาพประกอบต่างๆ ที่ค้นหาได้ยากจากหนังสือ ภาพและเรื่องราวเกี่ยวกับท้องถิ่นหรือสถาบันที่ห้องสมุดนั้นสังกัดอยู่ เป็นต้น